การใช้งาน ChatGPT Prompt อย่างง่าย Basic Level – สำหรับนักเรียนนักศึกษา

ในยุคดิจิทัลแบบนี้ การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ChatGPT หนึ่งใน Generative AI : GenAI ที่กำลังมาแรง และถูกพูดถึงอย่างมาก จัดเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาช่วยให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ และการศึกษาในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ – บทความนี้เหมาะสำหรับ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจเริ่มต้นใช้งานชุดคำสั่ง Basic ChatGPT Prompt สำหรับตั้งคำถามเพื่อ ถาม-ตอบ กับ AI โดยวันนี้เขียนโค้ดจะนำเสนอวิธีการใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานจริงเพื่อให้เข้าใจการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น

พร้อมแล้ว ไปเริ่มปลดล็อคความสามารถของ ChatGPT กันเลย — สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ChatGPT คืออะไร ? เริ่มต้นใช้งานได้อย่างไร ? แนะนำให้ไปอ่านบทความนี้ก่อน

Basic ChatGPT Prompt สำหรับนักเรียน นักศึกษา

ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งานชุดคำสั่ง (Prompt) ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของชุดคำสั่งเพื่อ GenAI เบื้องต้นกันก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลักการทำงานหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 Step ซึ่งแอดมินขอแบ่งเป็น “Main Prompt” และ “Follow-up” ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Main Prompt : How can I conduct research on [หัวข้อปัญหา] ? What are the best methods, and how should I evaluate my findings ?

ชุดคำสั่งหลัก : ฉันจะดำเนินการวิจัยใน [หัวข้อ] ได้อย่างไร อะไรคือวิธีการที่ดีที่สุด และควรประเมินผลการค้นพบได้อย่างไร

Follow-up : What are some common pitfalls in researching this topic, and how can I avoid them ?

เจาะลึกเข้าไปอี๊กก : ข้อผิดพลาดทั่วไปในการค้นคว้าหัวข้อนี้มีอะไรบ้าง และจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร

การ Follow-up อาจหมายถึงการถาม GenAI เพิ่มเติม เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นจาก Main Prompt โดยทั่วไป AI จะไม่สามารถตอบปัญหาแบบเฉพาะเจาะจงได้เลยโดยตรงจากการถามเพียงครั้งเดียว จำเป็นต้องมีการเจาะลึกลงไปในคำถาม หรือเรียกได้ว่า Follow-up ซึ่งอาจมีได้มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไปก็ได้ตามความเหมาะสม

มาเริ่มกันเลย Basic Prompt

ระดับของ Basic Prompt เราจะพูดถึงกันแค่ 3 ประเด็น ดังนี้

  1. การทำความเข้าใจแนวคิดของปัญหา
  2. การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
  3. การสำรวจหัวข้อปัญหาใหม่ๆ

10 Prompt สำหรับ “การทำความเข้าใจแนวคิดของปัญหา”

  1. What is the main idea of [หัวข้อ] ? ⇒ คำถามช่วยให้เข้าใจแนวคิดหลักของหัวข้อ
  2. Can you explain [หัวข้อ] in simple terms ? ⇒ คำถามช่วยแยกย่อยแนวคิดที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
  3. Why is [หัวข้อ] important ? ⇒ คำถามช่วยกระตุ้นให้เข้าใจถึงความสำคัญของแนวคิดนี้
  4. How does [หัวข้อ] work ? ⇒ คำถามมุ่งเน้นไปที่กลไก หรือกระบวนการของแนวคิด รวมถึงการทำงาน
  5. What are the key components of [หัวข้อ] ? ⇒ ค้นหาองค์ประกอบที่สำคัญของหัวข้อ หรือแนวคิด
  6. Can you give an example of [หัวข้อ] ? ⇒ คำถามช่วยเชื่อมโยงแนวคิด โดยแสดงออกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  7. How does [หัวข้อหลัก] relate to [แนวคิดอื่นๆ] ? ⇒ ตั้งคำถามว่าหัวข้อหลักเกี่ยวข้องกับแนวคิดอื่นๆ อย่างไร ?
  8. What is the difference between [หัวข้อ A] and [หัวข้อ B] ? ⇒ ตั้งคำถามหัวข้อ A และหัวข้อ B แตกต่างกันอย่างไร ?
  9. What are the basic principles of [หัวข้อ] ? ⇒ อธิบายหลักการพื้นฐานของหัวข้อ หรือแนวคิด
  10. What are some common misconceptions about [หัวข้อ] ? ⇒ คำถามชี้แจงความเข้าใจที่ผิดพลาด และเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิด

10 Prompt สำหรับ “การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น”

  1. What steps should I follow to solve [ปัญหา] ? ⇒ ตั้งคำถามเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง
  2. What is the first thing I need to do when faced with [ปัญหา] ? ⇒ คำถามช่วยให้ระบุขั้นตอน หรือวิธีการเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหา
  3. How can I break down [ปัญหา] into smaller, manageable parts ? ⇒ ส่งเสริมให้มีวิธีการจัดการกับปัญหา โดยแบ่งปัญหาเป็นส่วนย่อยๆ
  4. What are the possible solutions to [ปัญหา] ? ⇒ การระดมความคิด และพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ
  5. Which solution is the most effective for [ปัญหา], and why ? ⇒ คำถามช่วยในการประเมิน และเลือกทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา
  6. What are the pros and cons of each solution to [ปัญหา] ? ⇒ ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับจุดแข็ง และจุดอ่อนของวิธีแก้ปัญหาต่างๆ
  7. How can I test if my solution to [ปัญหา] is working ? ⇒ ทดสอบได้อย่างไรว่าวิธีแก้ไขปัญหาได้ผล หรือไม่ ?
  8. What should I do if my first solution to [ปัญหา] doesn’t work ? ⇒ ควรทำอย่างไรหากวิธีแก้ไขปัญหาครั้งแรกไม่ได้ผล ?
  9. How can I prevent [ปัญหา] from happening again in the future ? ⇒ จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร ?
  10. What did I learn from solving [ปัญหา], and how can I apply it to future problems ? ⇒ ส่งเสริมการไตร่ตรอง และประยุกต์ใช้บทเรียนที่เรียนรู้กับสถานการณ์ใหม่

10 Prompt สำหรับ “การสำรวจหัวข้อปัญหาใหม่ๆ”

  1. What is [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ ช่วยให้เริ่มต้นตั้งคำถามด้วยคำจำกัดความที่ชัดเจนของหัวข้อ
  2. Why is [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] important to learn about ? ⇒ เหตุใด [หัวข้อใหม่] จึงสำคัญที่ต้องเรียนรู้ ?
  3. What are the key concepts or ideas in [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ คำถามที่มุ่งเน้นไปที่การระบุประเด็นหลักภายในหัวข้อ หรือปัญหาใหม่ ?
  4. How does [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] relate to what I already know ? ⇒ [หัวข้อใหม่] เกี่ยวข้องกับสิ่งที่รู้อยู่แล้วอย่างไร ?
  5. What are some real-world examples of [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ ตัวอย่าง [หัวข้อใหม่] ในโลกแห่งความเป็นจริงมีอะไรบ้าง ?
  6. What are the benefits of understanding [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ คำถามที่เน้นข้อดีของการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อใหม่
  7. What are the challenges or difficulties in learning [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ อะไรคือความท้าทาย หรือความยากลำบากในการเรียนรู้ [หัวข้อใหม่] ?
  8. Who are the key figures or contributors in the field of [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ คำถามที่แนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆ
  9. What are some common misconceptions about [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ ความเข้าใจผิดทั่วไปเกี่ยวกับ [หัวข้อใหม่] มีอะไรบ้าง ?
  10. How can I learn more about [หัวข้อ หรือปัญหาใหม่] ? ⇒ คำถามส่งเสริมให้มีการสำรวจ และศึกษาในหัวข้อใหม่เพิ่มเติม

ข้อแนะนำในการใช้งาน Prompt

การเริ่มต้นใช้งานชุดคำสั่ง ควรเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามเป็นภาษาอังกฤษก่อน เนื่องจาก Generative AI จะถูกเทรนด์ด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นภาษาอังกฤษซะมากกว่าปริมาณข้อมูลที่เป็นภาษาไทย การประมวลผลด้วยภาษาอังกฤษจะสามารถช่วยให้เราได้ขอบเขตผลลัพธ์ที่กว้างกว่าภาษาไทย หากต้องการข้อมูลที่เป็นภาษาไทยเพื่อนำมาใช้ ผู้ใช้งานสามารถใช้ชุดคำสั่งปิดท้ายเพื่อ บอกให้ GenAI ทำการแปลภาษาไทยให้เราได้ ดังนี้ “Please translate your explanation into Thai” , “Please translate the result into Thai”

LazAffTravel
AI เปลี่ยนโลก (Admin.earth)
AI เปลี่ยนโลก (Admin.earth)

Blogger technology in programmers' stains.

Articles: 107

Copyright © 2024 - เขียนโค้ดดอทคอม


Verified by MonsterInsights