กระตุ้นการยอมรับเทคโนโลยี Technology Acceptance สู่การนำมาซึ่ง Adoption

การมุ่งเน้นไปที่ ความเต็มใจที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ในช่วงเริ่มต้นการเปิดตัว (Early Access) เปรียบเสมือนการเปิดใจสู่โลกแห่งนวัตกรรม Tech Acceptance & Adoption จึงไม่ควรมองข้าม

แม้เทคโนโลยีจะรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จที่แท้จริงของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก การยอมรับเทคโนโลยี Technology Acceptance และการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างต่อเนื่อง Technology Adoption เพื่อช่วยให้มั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นนั้น จะได้รับการยอมรับ และถูกนำไปใช้งานจริงในอนาคตอย่างแท้จริง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญไม่แพ้กระบวนการออกแบบคิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยี

การแยกแยะความแตกต่างระหว่าง "การยอมรับเทคโนโลยี" กับ "การนำเทคโนโลยีมาใช้”​

การยอมรับเทคโนโลยี - Technology Acceptance​

เป็นการมุ่งเน้นไปที่ ความเต็มใจที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ในช่วงเริ่มต้นการเปิดตัว (Early Access) เปรียบเสมือนการเปิดใจสู่โลกแห่งนวัตกรรม

ตัวอย่าง ที่สามารถเห็นได้ชัดเจนคือ ChatGPT จาก OpenAI ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ในช่วงแรกของการเปิดตัวอย่างแท้จริง ผู้คนต่างกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และใช้งาน แสดงให้เห็นถึง ทัศนคติเชิงบวก ต่อเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น

การยอมรับเทคโนโลยี เปรียบเสมือน ก้าวแรก สู่การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างแพร่หลาย กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สร้างโอกาสใหม่ๆ และนำไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคต

แต่ก่อนจะเกิดการปรับทัศนคติที่ดีต่อนวัตกรรมขึ้นได้ ยังมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับอื่นๆ ได้แก่ การรับรู้ว่าใช้งานง่าย มีประโยชน์ และความเข้ากันได้ กับกระบวนงานแบบดั้งเดิม โดยอาจจะเข้ามาช่วยให้รูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพขึ้น เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี – จะถูกพูดถึงในส่วนของโมเดล Technology Acceptance Model (TAM) ต่อไป ..

Model of Rogers 1983 ได้พูดถึงรูปแบบของการยอมรับเทคโนโลยี ไว้ดังนี้

การแพร่กระจายของนวัตกรรม Diffusion of Innovation (DOI)
การแพร่กระจายของนวัตกรรม Diffusion of Innovation (DOI)

การแบ่งกลุ่มผู้ใช้ตามช่วงเวลาที่การยอมรับเทคโนโลยีเกิดขึ้น ได้อธิบายออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • ผู้ริเริ่ม (Innovators) : กลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่รวดเร็วที่สุด มักชอบความเสี่ยง ชอบลองของใหม่ และมีทรัพยากรเพียงพอในการทดลองใช้
  • ผู้รับก่อน (Early Adopters) : กลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่เร็ว มักมีบทบาทเป็นผู้นำทางความคิด และมีอิทธิพลต่อผู้อื่น หรือสภาวะผู้นำเทรนด์
  • ผู้รับส่วนใหญ่ (Early Majority) : กลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีเมื่อเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน และมักได้รับอิทธิพลจากกลุ่มผู้รับก่อน จากผู้นำเทรนด์อีกที
  • ผู้รับส่วนน้อย (Late Majority) : กลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีเมื่อกลัวถูกบังคับให้ต้องใช้งาน
  • ผู้ติดหลง (Laggards) : กลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีเป็นกลุ่มสุดท้าย มักมีความดื้อรั้น และต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

ข้อจำกัดของ DOI โมเดลนี้เป็นเพียงกรอบแนวคิดเท่านั้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้ - Technology Adoption

กระบวนการนี้ไม่ได้หมายถึงแค่เริ่มต้นใช้งานเท่านั้น แต่หมายถึงการผนวกรวมนวัตกรรมเข้ากับกิจวัตรประจำวันได้อย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนการก้าวข้ามขั้นตอน “การยอมรับ” ไปสู่การใช้งานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ได้อย่างต่อเนื่องนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ แม้จะผ่านกระบวนการยอมรับมาแล้วในระดับหนึ่งก็ตาม ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องในการใช้งาน เช่น

  • การขาดการฝึกอบรม : ผู้ใช้ขาดความรู้หรือทักษะที่จำเป็นในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาทางเทคนิค : พบปัญหาการใช้งาน เช่น บั๊ก ซอฟต์แวร์ล่ม การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรขณะใช้งาน หรือแม้แต่ช่วง Peak Time ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ ใช้งานพร้อมกัน
  • ทางเลือกอื่นที่ดีกว่า : มีเทคโนโลยีที่เข้าถึง และใช้งานง่ายกว่า

การนำเทคโนโลยีมาใช้เปรียบเสมือนการเดินทางที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กร เพื่อที่จะสามารถเอาชนะอุปสรรค และส่งเสริมการใช้งานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่เพียงแต่ภายในองค์กร แต่ผู้ใช้งานทั่วไปต้องสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การ Technology Acceptance และนำไปสู่การเกิด Adoption
การ Technology Acceptance และนำไปสู่การเกิด Adoption

ปัจจัยเร่งของการเกิด Adoption มีอะไรบ้าง ? - เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายอย่างยั่งยืน

  • ประโยชน์ที่ชัดเจน (Perceived Benefits)
  • ความง่ายในการใช้งาน (Ease of Use)
  • การสนับสนุนจากผู้บริหารให้เกิดอัตราเร่ง (Management Support)
  • การจัดอบรมให้ความรู้ (Training and Education)
  • ต้นทุนและการลงทุน (Cost and Investment) : คำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
  • การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (User Involvement)
  • การทดสอบและทดลองใช้ (Pilot Testing)
  • การตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่ดี (Marketing and Communication)

บทสรุป

การยอมรับเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีมาใช้ เป็นปัจจัยที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป เพื่อทำให้เทคโนโลยีสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่องค์กร และผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งด้านความคิด ทัศนคติ และการกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และใช้งานอย่างจริงจัง เพื่อให้การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนา และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตต่อไปอย่างยั่งยืน

AI เปลี่ยนโลก (Admin.earth)
AI เปลี่ยนโลก (Admin.earth)

Blogger technology in programmers' stains.

Articles: 116

Copyright © 2024 - เขียนโค้ดดอทคอม


Verified by MonsterInsights