ทำความรู้จักเว็บไซต์ปัญญาประดิษฐ์ AI เพื่องานวิจัย

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังก้าวเข้ามาพลิกโฉมวงการศึกษาในยุคดิจิทัล เปรียบเสมือนขุมพลังมหาศาลที่จะยกระดับการเรียนรู้ และช่วยพัฒนางานวิจัย นำไปสู่ประสบการณ์การศึกษาที่เหนือชั้น และตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย แชทบอท AI เปรียบเสมือนผู้ช่วยส่วนตัวที่ทรงพลัง

บทความนี้ขอแนะนำ 4 เว็บไซต์ AI เพื่องานวิจัย สุดล้ำที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยให้นักวิจัยยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและเปลี่ยนงานวิจัยของคุณให้ก้าวล้ำเหนือไปอีกขั้น

AI เพื่องานวิจัย

4 เว็บไซต์ AI เพื่องานวิจัย ที่นักวิจัยทุกคนต้องรู้

“Consensus”

Consensus : เครื่องมือค้นหาบทความเชิงวิชาการสำหรับงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI พร้อมด้วยคลังข้อมูลเอกสารทางวิชาการมากกว่า 200 ล้านฉบับ

เป็นเครื่องมือช่วยระดมสมองในการตั้งคำถาม ? หรือวิเคราะห์คำถามที่ผู้วิจัยตั้งขึ้น โดยมีการใช้มิเตอร์วัดความเห็นพ้อง (Consensus Meter) เป็นเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ Yes Possibly and No ซึ่งพิจารณาจากการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกันในคลังข้อมูล

จากกรณีตัวอย่าง ผู้ใช้ได้ตั้งคำถาม “Can mindfulness help with sleep?” Consensus ก็จะช่วยระดมความคิด และวัดระดับความเห็นพ้องให้

ตัวอย่าง

ตั้งคำถาม “Can mindfulness help with sleep?” Consensus

นอกจากนี้ Consensus ยังมีการนำเครื่องมือ Copilot และ GPT เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์บทความวิจัย (Paper) จากคลังข้อมูล

Copilot เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

และจุดเด่นที่เราชอบคือเว็บไซต์ยังสามารถช่วยอ้างอิง (Reference) ให้ด้วย

มี Reference ให้ด้วยนะ

จุดเด่นของ AI ตัวนี้คือความสามารถในการระดมความคิดที่เหนือชั้น AI นี้จึงช่วยให้นักวิจัยค้นพบแนวทางการวิจัยที่ล้ำสมัย และช่วยผนวกความคิดสร้างสรรค์ให้

“ChatPDF”

Chat with any PDF (ChatPDF) : เครื่องมือสรุปบทความวิชาการจากไฟล์ PDF เสมือนผู้ช่วย AI ส่วนตัว ซึ่งเป็นการสนทนาเพื่อหาคำตอบ และสรุปเนื้อหา เพียงแค่ผู้ใช้ทำการอัพโหลดไฟล์ขึ้นสู่เว็บไซต์ หรือไดร์ฟออนไลน์ (Drive online) ผ่านลิงค์ (URL)

ChatPDF

ChatPDF เหมาะสำหรับใคร ?

  • นักศึกษา : ช่วยอ่านหนังสือ ช่วยเหลือเรื่องการบ้าน และตอบคำถามปรนัยอย่างง่าย
  • นักวิจัย : สำรวจบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความทางวิชาการ และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย
  • มืออาชีพ : สำรวจสัญญาทางกฎหมาย รายงานการเงิน คู่มือการฝึกอบรม และข้อมูลเชิงลึก
  • สนทนาหลายไฟล์พร้อมกัน : เพียงสร้างโฟลเดอร์เพื่อจัดเก็บไฟล์บทความ PDF และจัดระเบียบไฟล์เพื่อสนทนาแบบภาพรวม
  • แหล่งอ้างอิง : การสนทนาสามารถอ้างอิงแหล่งที่มาในเอกสารได้
  • ภาษา : รองรับการทำงานหลากหลายภาษาทั่วโลก

“SCISPACE”

SCISPACE : เครื่องมือที่มาพร้อมความสามารถในการอ่าน และสรุปงานวิจัยที่หลากหลาย การทำงานคล้าย ChatPDF แต่ด้วย UX/UI ที่เรียบหรู และน่าสนใจ จึงนับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่โดดเด่นด้านการสรุปผล และหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วทันใจ

SCISPACE

SCISPACE ได้ผนวกนำ AI อย่าง Copilot และ ChatGPT เข้ามาใช้งาน

SCISPACE ทำอะไรได้บ้าง ?

  • ช่วยผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรม
  • ค้นหาคำตอบจาก Paper งานวิจัย (PDF File)
  • สรุปรวบรวมผลลัพธ์ของการทบทวนวรรณกรรมหลายไฟล์ ออกมาในรูปแบบตาราง (ถือว่าแจ่ม)
  • มีการเตรียมชุดคำถามที่หลากหลายเกี่ยวกับการทำวิจัยไว้ให้ใช้งาน
SCISPACE ทำอะไรได้บ้าง ?

การใช้งาน SCISPACE เบื้องต้น สำหรับอ่านงานวิจัย

ผู้วิจัยเพียงเริ่มต้นการใช้งานผ่านรูปแบบเว็บเบราว์เซอร์โดยไปที่ typeset.io

1. มองหาเมนู My Library ที่แถบขวาบนของหน้าจอ

2. อัพโหลดไฟล์ PDF งานวิจัยที่สนใจ ขึ้นไปบนเว็บไซต์

อัพโหลด ไฟล์ PDF งานวิจัย
อัพโหลด ไฟล์ PDF งานวิจัย          

3. จากนั้นมาเริ่มต้นตั้งคำถาม หรือใช้งานชุดคำถามเกี่ยวกับการทำวิจัยได้เลย

เริ่มต้นตั้งคำถาม

4. ตัวอย่าง ลองใช้ชุดคำสั่งที่เตรียมมาเกี่ยวกับการทำวิจัยถามไปเลย “Results of the paper” หรือ สรุปผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ให้หน่อย Copilot ก็จะเริ่มทำงานโดยการเข้าไปอ่านไฟล์งานวิจัยของเรา และสรุปผลออกมาให้ ดังรูป

สรุปผลลัพธ์ของงานวิจัยด้วย Copilot

5. เพียงเท่านี้การทบทวนวรรณกรรมก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Gamma.app

Gamma.app : เครื่องมือสำหรับคนขี้เกียจออกแบบสไลด์นำเสนอ Gamma Slides เป็นเครื่องมือ AI ที่ช่วยสร้างผลงานการนำเสนอจากเทมเพลต (Templates) ที่เลือกใช้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายสุดๆ

Gamma.app

ความง่ายของเครื่องมือตัวนี้เพียงแค่ผู้ใช้เริ่มต้นเลือกเทมเพลตที่สนใจ จากนั้นกดใช้เทมเพลต (Use Template) เมื่อเข้ามาสู่หน้าเทมเพลตที่เลือกเรียบร้อยแล้ว

เริ่มต้นเลือกเทมเพลต

จากนั้นให้ผู้ใช้มองหาเมนูด้านขวาคำว่า “Edit with AI” เพื่อสนทนาสิ่งที่ต้องการสร้าง หรือเพิ่มเติมเนื้อหาลงในสไลด์ แต่ความพิเศษคือเครื่องมือตัวนี้สามารถสร้างสไลด์แทบจะเสร็จสมบูรณ์ให้เรานำไปใช้ได้เลยเพียงแค่ป้อนชุดคำสั่งลงไป เช่น “สร้างสไลด์เรื่อง การใช้งาน ChatGPT เบื้องต้น”

ป้อนชุดคำสั่ง
ผลลัพธ์ของ Gamma.app

ความสุดยอดไม่เพียงแต่การสร้างสไลด์ให้เราอัตโนมัติ แต่ยังรองรับการสั่งการด้วยภาษาไทยได้เป็นอย่างดี นับเป็นเครื่องมือ AI อีกตัวที่น่าสนใจไม่น้อย

สรุป

การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการวิจัยสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของนักวิจัยอย่างมหาศาล ไม่เพียงแค่ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยให้งานวิจัยมีความน่าสนใจ และช่วยให้ดำเนินงานวิจัยได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

อย่ารอช้า ! มาเริ่มต้นใช้เครื่องมือ AI เหล่านี้ในการวิจัยของคุณได้เลย แล้วก็อย่าลืมติดตามเราเพื่อรับข้อมูล และเคล็ดลับที่น่าสนใจอีกมากมายนะ

ช่วยเผยแพร่โหน่ย:
Verified by MonsterInsights