เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาบ้างแล้วว่าคืออะไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ? วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างแต่ละรูปแบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ว่าสามารถสร้างรูปแบบไหนได้บ้าง และในแต่ละโครงสร้างเหมาะสำหรับนำไปใช้ในทางด้านใด ? รวมทั้งข้อดี – ข้อเสียของแต่ละรูปแบบ
รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้
- เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
- เครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
- เครือข่ายแบบริง (Ring Network)
- เครือข่ายแบบผสม (Mesh Network)
- เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
การเชื่อมต่อเครือข่ายใช้สายสัญญาณต่อเชื่อมกันแบบบัส (Bus) โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทางเป็นทางเดินร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ข้อดีแบบบัส (Bus Network)
- การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย
- มีโครงสร้างที่ง่าย และมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
- การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่ทำได้ง่าย
ข้อเสียแบบบัส (Bus Network)
- การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มีศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
- กรณีเกิดความเสียหายในการส่งข้อมูลจะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้
- เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล
เครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางโดยใช้ “ฮับ (Hub)” หรือ “สวิตช์ (Switch)” เป็นจุดเชื่อม โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนั้นว่า “โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)”
ข้อดีแบบสตาร์ (Star Network)
- การเชื่อมต่อแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียว ทำให้ง่ายในการติดตั้ง
- จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น เมื่อเกิดการเสียหายที่จุดใดในเครือข่ายจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานจุดอื่น
ข้อเสียแบบสตาร์ (Star Network)
- ใช้สายส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
- การเพิ่มจุดใหม่เข้าไปในระบบทำได้ยาก
- ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายจะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้
เครือข่ายแบบริง (Ring Network)
การเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงแหวน (Ring Network) การติดต่อสื่อสารจะใช้ “โทเค็น (Token)” เป็นสื่อกลางการติดต่อภายในเครือข่าย
ข้อดีแบบริง (Ring Network)
- ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลได้มากขึ้น
- เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง จะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง
ข้อเสียแบบริง (Ring Network)
- การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่อยู่ในวงแหวน หากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้
- การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุด
- ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่
เครือข่ายแบบผสม (Mesh Network)
การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ไม่มีรูปแบบแน่นอนเช่น ใช้เครือข่ายแบบบัสผสมกับเครือข่ายแบบสตาร์
เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)
เริ่มแรกนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ 2 Mbps (Megabits Per Second) จนพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้ 11 Mbps สามารถส่งข้อมูลไปบนความถี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ซึ่งเรียกว่า “Spread Spectrum”