สร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ? (ไม่ต้องโค้ด)

ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต ที่เห็นได้ชัดเจนหากย้อนมองกลับไปเมื่อ 5-10 ปีก่อนหน้านี้ธุรกิจประเภท e-commerce ได้เข้ามามีบทบาท และทำการ disrupt การตลาดรูปแบบเก่า ให้เปลี่ยนมาเป็นระบบออนไลน์แทบจะทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอดทุกปี

ส่งผลเกิดให้การปรับตัวตามมามากมายทั้งในส่วนผู้ขาย และผู้ซื้อสินค้า หรือผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเกี่ยวการนำระบบ e-commerce มาประยุกต์ใช้ นั้นก็คือเว็บไซต์ + ระบบขายของออนไลน์ กลายเป็นหน้าบ้านของแบรนด์ธุรกิจดังมากมายอาทิ Lazada, Shopee หรือแม้แต่รายย่อยอื่น ๆ

Website + E-commerce

สร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อสร้างหน้าร้านที่หน้าเชื่อถือจึงเกิดขึ้นใหม่อย่างมหาศาล แต่น้อยคนที่จะไปได้ตลอดรอดฝั่ง

จึงจะเห็นว่า website ถือเป็นเครื่องมือหลักต่อการดำรงตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน

หลายคนเกิดคำถามมากมาย ว่าการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง สามารถเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ? ในความเป็นจริงทุกคนสามารถสร้างเว็บไซต์ เพื่อบ่งบอกการเป็นตัวตนได้หลากหลายรูปแบบด้วยงบไม่ถึงหลัก 1000 บาทด้วยซ้ำ

วันนี้ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อจะไขข้อข้องใจเหล่านี้ ให้แก่ Start Up หน้าใหม่ ที่พึ่งก้าวเท้าเข้ามาสู่โลกออนไลน์ เพื่อที่จะได้ไม่เสียโอกาส และเวลาลองผิดลองถูกใหม่ทั้งหมด

เริ่มทำความรู้จักประเภทของเว็บไซต์กันก่อน

ก่อนอื่นคุณต้องตั้งคำถามในหัวก่อนว่าอยากมีหน้าร้าน หรือเว็บไซต์เพื่อวัตถุประสงค์ใด ? เพราะเว็บไซต์ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบดังนี้

  1. เพื่อการขายของ | E-commerce Site
  2. เพื่อความบันเทิง และให้ความรู้ | Blog Site
  3. เพื่อถ่ายทอดข่าวสาร | News Site
  4. เพื่อการท่องเที่ยว | Travel Site
  5. เพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ | Business Site

นี้เป็นแค่ไอเดียเล็ก ๆ ของผู้เขียน เพราะการมีเว็บไซต์เป็นเรื่องยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ หรือสร้างไซต์รูปแบบใหม่ไม่เหมือนใครเป็นของตัวเองได้อีกหลากหลาย

สร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เตรียมความพร้อมอย่างไร ?

สิ่งที่ควรเตรียมตัวสำหรับผู้เริ่มต้นที่อยากสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง คุณต้องทำความรู้จักในแต่ละหัวข้อเหล่านี้ให้ถ่องแท้ก่อน

1. เว็บโฮสติ้ง (Web hosting) มีหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บไฟล์ระบบของเว็บไซต์ไว้บนโลกออนไลน์ เปรียบเสมือนการยินยอมให้เว็บไซต์ถูกเข้าถึงได้จากผู้ใช้งาน หรือเรียกอีกอย่างว่าการ public website นั่นเอง การที่มีเว็บไซต์เรียบร้อยแล้วก็จำเป็นต้องมี server hosting ไว้ฝากไฟล์ของเว็บไซต์ ซึ่งจำเป็นต้องเช่าใช้รายปี สามารถหาเช่าได้ทั่วไปเพียงค้นหาคำว่า “เว็บโฮสติ้ง” บน google ก็จะพบกับผู้ให้บริการโฮสติ้งมากมาย ภายในประเทศไทยก็อาทิ Z.com, Hostinger  เป็นต้น

2. โดเมนเนม (Domain name) หรือชื่อเรียกของเว็บไซต์ ใช้อ้างอิงในการค้นหาเช่น Keancode.com การจะมีโดเมนเนมได้ต้องจดทะเบียน หรือเสียค่าบริการรายปีเช่นเดียวกับเว็บโฮสต์ติ้ง ราคาเฉลี่ยประมาณ 300-500 บาท/ปี โดยปกติเว็บโฮสติ้งก็จะพ่วงบริการจดโดเมนไปด้วยในตัวอยู่แล้ว แต่ก่อนที่จะทำการจดโดเมน ก็ควรทำความรู้จักกับประเภทของโดเมนเสียก่อน

ประเภทของโดเมน

  • com = กลุ่มองค์กรการค้า
  • edu = กลุ่มการศึกษา
  • gov = กลุ่มองค์กรรัฐบาล
  • mit = กลุ่มองค์กรการทหาร
  • net = กลุ่มการบริการเครือข่าย
  • org = กลุ่มองค์กรอื่นๆ
  • go = หน่วยงานรัฐบาล
  • ac = สถาบันการศึกษา
  • co = องค์กรธุรกิจ
  • or = องค์กรอื่นๆ

3. เครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป (CMS website) หรือโปรแกรมสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ไม่ต้องเขียนโค้ดให้ยุ่งยาก ผู้ใช้งานเพียงแค่ทำการติดตั้งเครื่องมือ CMS ลงไปบนเว็บโฮสติ้ง จากนั้นทำการตั้งค่ารหัสผ่านรวมทั้งโดเมนเนมที่ได้จดไว้ เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มปรับแต่งเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ได้ เท่านี้ก็มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว CMS ที่ได้รับความนิยมก็มีหลากหลายอาทิเช่น WordPress, Joomla เป็นต้น

CMS Website เหมาะกับเว็บไซต์ประเภทไหน ?

สร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และสร้างบล็อก

หลายคนเกิดคำถามว่าแค่ CMS จะเป็นเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับการมีเว็บไซต์สำหรับมืออาชีพได้จริง หรือไม่ ? แอดมินตอบให้เลยว่าได้ เพราะเว็บไซต์ดัง ๆ ส่วนใหญ่มาจาก CMS website ทั้งนั้น แต่จะเป็นเว็บไซต์สายขายของออนไลน์ บล็อกเกอร์ หรือฟีดข่าวซะมากกว่า

แล้วทำไมถึงต้องมีการเขียนโปรแกรมหากมี CMS เว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขนาดนี้ ? ในส่วนของการเขียนโปรแกรมจะนิยมใช้ก็ต่อเมื่อการสร้างเว็บไซต์ที่มีความเป็นระบบ หรือต้องรองรับความต้องการผู้ใช้มากเกินขีดจำกัดของ CMS นั่นเอง

การเขียนโปรแกรมจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อให้เว็บไซต์มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ใช้งาน

New Post

4. สร้างคอนเทนต์ (Content) หรือเนื้อหาของเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์ที่ดีจำเป็นต้องมีเนื้อหาที่คุณภาพ เพื่อรองรับผู้เยี่ยมชมที่จะเข้ามาศึกษาหาข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากเว็บไซต์ของเรา

5. เรียนรู้เทคนิคการทำ SEO หรือทำให้เว็บไซต์มีอันดับจากผลการค้นหาบน Search engine ต่าง ๆ เพราะหากคุณมีเว็บไซต์ แต่ไม่สามารถมีใครมองเห็นเว็บไซต์ของคุณ ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใด ดังนี้ SEO จึงเข้ามามีบทบาทต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ SEO คืออะไร ?

เมื่อมีการเตรียมพร้อมครบทั้ง 5 หัวข้อได้แล้ว คุณสามารถเริ่มสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ไม่ยากเลย และที่สำคัญอย่าลืมสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ เพราะเนื้อหาที่ดีจะดึงดูดให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เกิดความสนใจ

ช่วยเผยแพร่โหน่ย:
Verified by MonsterInsights