ทำความรู้จักกับภาษา JAVA สามารถทำอะไรได้บ้าง ?

ภาษา JAVA จัดเป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากอีกภาษาหนึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้มากมายหลากหลายด้าน จนติดอันดับโปรแกรมยอดนิยม โดยถูกพัฒนามาจากบริษัทที่ชื่อว่า Sun Microsystems ซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก โดยมีหัวหน้าทีมพัฒนาโปรแกรมชื่อว่า James Gosling ซึ่งโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกยกย่องเขาว่าเป็นบิดาของ JAVA โดยชื่อเดิมของภาษา JAVA ก็คือ Oak ซึ่งเป็นชื่อที่ทีมงานของ James Gosling ตั้งไว้เมื่อปี 1991 โดยมีความตั้งใจที่ว่าต้องการพัฒนาภาษาเขียนโปรแกรมที่มีความไม่ซับซ้อนแต่มีประสิทธิภาพพอสำหรับหน่วยความจำภายในน้อย ๆ เนื่องมาจากยุคนั้นภาษา C จัดเป็นภาษาที่มีการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ดี แต่มีข้อเสียคือใช้หน่วยความจำมากจึงส่งผลให้มีการแจ้งเกิดของภาษา JAVA

ภาษา JAVA สามารถทำอะไรได้บ้าง ?

ภาษาจาวามีปรัชญาการสร้างมาจากความต้องการให้เราเขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเช่น โทรศัพท์มือถือ, เกมคอนโซล, แท็บเล็ต หรืออื่น ๆ

การทำงานของโปรแกรมภาษา JAVA

กระบวนการพัฒนาโปรแกรมภาษา JAVA เราจะได้ไฟล์ Source code ที่มีนามสกุลเป็น .java แล้วนำ Source code ไปคอมไพล์ให้กลายเป็น Java Byte Code (.class) เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำงานจริงในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ Java Byte Code (.class) จะถูกคอมไพล์อีกครั้งให้เป็นภาษาเครื่องเฉพาะของอุปกรณ์นั้น ๆ จะเรียกการคอมไพล์นี้ว่า Java Virtual Machine

หมายเหตุ : สำหรับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการรันแอพพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษา JAVA จะต้องติดตั้งสิ่งที่เรียกว่า JRE (Java Runtime Environment) เข้าไป

ภาษา JAVA
ภาษา JAVA

รูปแบบการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา JAVA

เนื่องจากภาษาจาวาสามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงมีชุดพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสมในแต่ละด้านแตกต่างกันดังนี้

  1. Java ME : ย่อมาจาก Java Micro Edition เป็นชุดพัฒนาสำหรับพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานบนอุปกรณ์ขนาดเล็กเช่น โทรศัพท์มือถือ
  2. Java SE : ย่อมาจาก Java Standard Edition เป็นชุดพัฒนาสำหรับพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  3. Java EE : ย่อมาจาก Java Enterprise Edition เป็นชุดพัฒนาสำหรับพัฒนาระบบงานขนาดใหญ่รองรับการทำงานแบบ Multi-user

ข้อดีของภาษา Java

หลังจากที่เราทราบหลักการทำงานของภาษาจาวามาบ้างแล้ว ต่อไปก็จะกล่าวถึงข้อดีของภาษา Java ที่หลายคนก็คงอยากทราบดังนี้

  • ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ (ทำให้เรามองภาพเป็นวัตถุ เพื่อทำงานได้ง่าย)
  • สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
  • ไวยากรณ์ของภาษาจาวาได้รับการออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม
  • มีระบบจัดคืนพื้นที่ให้หน่วยความจำอัติโนมัติ
  • มีความหลากหลายของคลาสจำนวนมากให้ใช้
  • ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ได้ คือมีจาวาแอปเพล็ต (Java Applet)
  • สนับสนุนงานหลากหลายระดับ ระดับเซิร์ฟเวอร์ ระดับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปจนถึงอุปกรณ์พกพา
ช่วยเผยแพร่โหน่ย:
Verified by MonsterInsights